ในปัจจุบัน เครื่องทำไอศครีมไม่ว่าจะเป็น Soft Serve หรือ Hard Serve มีผู้นำเข้านำเข้าอิสระมากมาย อาทิ บริษัทขายเครื่องอุปกรณ์เบเกอรี่ หรือ ผู้ที่สั่งเครื่องทำไอศครีมนำเข้ามาขายทาง เว็บไซด์ Online ต่างๆ ให้ลูกค้าได้เปรียบเทียบและเลือกซื้อ
.
สิ่งที่อยากจะบอกคือ เครื่องทำไอศครีมที่เราใช้ผลิตไอศครีมเพื่อจำหน่ายนั้น ไม่ใช่เครื่องอุปกรณ์ที่เป็น Home Use แต่เป็นเครื่องจักรระดับ Commercial ที่จำเป็นต้อง Service และมีช่างเฉพาะทาง รวมถึง อะไหล่ต่างๆเฉพาะรุ่น ที่จำเป็นต้องมีสำรองและหาเปลี่ยนได้ ฉนั้น เครื่องไอศครีมจึงเปรียบเสมือน รถยนตร์ เครื่องปรับอากาศ หรือตู้เย็น แต่มีความลึกซึ้งและเฉพาะทางกว่า เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับธุรกิจถึงธุรกิจ (B2B) โดยเฉพาะ ซึ่งในความหมายคือ ท่านนำเครื่องไอศครีมของท่านไปผลิตไอศครีมให้ลูกค้าของท่านเพื่อเป็นอาชีพนั่นเอง หากท่านยังไม่เข้าใจ 3 ข้อที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ "อย่าเพิ่งตัดสินใจซื้อเครื่องทำไอศครีม"
1. ถ้ายังไม่รู้ปริมาณเฉลี่ยลูกค้าของคุณ ต่อวัน ต่อชั่วโมง ต่อนาที ที่แน่นอน
เครื่องทำไอศครีม มีหลายรุ่น หลายขนาด แบ่งตามกำลังการผลิต และคุณภาพของไอศครีม เปรียบเสมือน ความแรงและความหรูหรา ของรถยนตร์นั่นเอง ปริมาณลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน ให้คุณวิเคราะห์จาก สถานที่ ที่คุณจะขาย อาทิ โรงเรียน ตลาด ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอล หรือ ร้าน เบเกอรี่ และการตั้งราคาขายเป็นสินค้าหลัก ซึ่งในแต่ละที่ก็มีจะมีปริมาณลูกค้าในช่วง Peak time แตกต่างกันไป
.
ยกตัวอย่าง โรงเรียน และ ออฟฟิต จะมีช่วงที่ขายดีสุดๆ คือช่วง พักกลางวัน เครื่องที่เหมาะสม ก็จำเป็นที่ต้องเป็นเครื่องที่มีกำลังการผลิตสูง ทนทาน หรือ เครื่องกำลังการผลิตต่ำ 2 เครื่องขึ้นไป
.
หากเป็นตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือร้านกาแฟ และเบเกอรี่ ลูกค้าอาจจะมาเรื่อยๆไม่มีช่วง Peak แต่เน้นวัตถุดิบ และรสชาติ คุณอาจจะต้องใช้เครื่องคุณภาพสูง มีระบบ Airpump เพื่อปั่นให้ได้ไอศครีมที่เนื้อและรสสัมผัสดีที่สุด
.
2. ถ้าคุณยังไม่ได้ประมาณการณ์ จุดคุ้มทุน หรือ ระยะเวลาการคืนทุน
การคำนวนตรงนี้ มันเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่แล้ว และจำเป็นต้องคำนวน มันจึงเป็นปัจจัยที่แปรผันตรงกับ ราคาเครื่องไอศครีมที่คุณจะลงทุน ดังเช่น หากคุณเป็นผู้เริ่มต้นทำธุรกิจ มีเงินลงทุนจำกัด หรือกำลังสำรวจพื้นที่ แล้วคุณซื้อเครื่องทำไอศครีมราคาหลายแสนคุณภาพดี เวลาที่คุณเปิดร้าน แล้วทำเล ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คุณคิด ระยะคืนทุนเครื่องไอศครีมก็ยาวออกไป จนถึงขั้นทำให้คุณขาดทุนได้ หรือ หากคุณมีประสบการณ์ร้าน หรือ เปิดคาเฟ่อยู่แล้ว หรือ ทำแฟรนไชส์ คุณก็สามารถลงทุนเครื่องราคาสูงระดับ Commercial เพื่อเป็น Brand Image ของร้านคุณ หรือ ทำกำไรจากการขายเครื่องทำไอศครีมให้ลูกค้าแฟรนไชส์คุณ และลดความจุกจิกในระบบ Operation ได้อีกด้วย
Click>> การคำนวนต้นทุนของไอศครีม
3. ถ้าคุณยังไม่ได้ หาข้อมูลบริษัทที่คุณจะซื้อเครื่องทำไอศครีมเป็นอย่างดี
ข้อนี้ คือข้อที่สำคัญที่สุด ดังที่แจ้งไปก่อนหน้าว่า เครื่องทำไอศครีม ไม่ใช่ Home Use แต่เป็นเครื่องระดับ Commercial ที่ต้องเรียนคู่มือในการใช้เครื่อง ต้องมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของเครื่อง ต้องเข้าใจด้วยว่า เครื่องจำเป็นต้องมีบริการหลังการขายและ อะไหล่ที่ครบถ้วน หากเครื่องทำไอศครีมคุณมีปัญหา และคุณไม่มีอะไหล่เปลี่ยน เครื่องไอศครีม ก็ไม่ต่างอะไรไปจากเศษเหล็กดีๆนั่นเอง
.
เครื่องที่มีขายตาม เว็บไซด์ Online คุณต้องเช็คเรื่องการประกันหลังขายว่ามีหรือไม่ หรือถ้ามีประกัน ต้องเช็คอีกชั้นว่า สามารถ Servicve ให้คุณได้จริงหรือไม่อีกที สำหรับเครื่องที่คุณซื้อจากบริษัทต่างๆ มันจำเป็นมากๆที่คุณต้องเช็ค Feed Back จากบริษัทนั้นๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด รวมถึงศูนรย์บริการหลังการขายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะมีบริษัท หรือ ร้านมากมายที่สามารถนำเข้าเครื่องอิสระมาขาย แต่ไม่สามารถบริการลูกค้าหลังการขายได้จริง เนื่องจาก เครื่องทำไอศครีมต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์และชำนาญการอย่างสูง
สุดท้าย สิ่งที่สรุปคือ การจะซื้อเครื่องทำไอศครีม คุณต้องใช้
"เวลา" ในการศึกษาหาข้อมูลและคำนวนจุดคุ้มทุนในการลงทุน
"การวิเคราะห์" ข้อมูลทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ประวัติ สินค้า ความน่าเชื่อถือ และบริการหลังการขายของบริษัทที่คุณจะตัดสินใจซื้อ
"การตัดสินใจ" ในการเริ่มต้นทำธุรกิจที่ระมัดระวัง ปลอดภัย และชาญฉลาด เพื่อผลตอบแทนและระยะเวลาการคืนทุนที่เร็วที่สุด